บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คนตาบอด หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง
คนเห็นเลือนราง หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้
การสังเกตพฤติกรรมเด็กที่มีความบกพร่องทางมองเห็น
1. ขยี้ตาบ่อย ๆ เหมือนพยายามทำให้ภาพที่ไม่ชัดให้ปรากฎชัดขึ้น
2. เวลามองวัตถุมักป้องตา
3. ถือหนังสือไว้ใกล้ตามาก หรือก้มหน้าใกล้หนังสือ
4. กระพริบตาถี่มากกว่าปกติ
5. มีความยุ่งยากในการอ่านหนังสือ หรือการทำงานที่ต้องใช้สายตา
6. ตามักช้ำแดงและมีน้ำตา ขี้ตากรัง
7. ทำตาหรี่ หรือขยี้ตาขณะที่มอง
8. มักพูดว่าตัวหนังสือหรือรูปภาพเต้น หรือมองอะไรมัวๆ หรือเป็นภาพซ้อน
9. ไม่สามารถอ่านหนังสือเรียงตามบรรทัดได้นาน มักอ่านหนังสือกลับไปกลับมา
10. เวลาอ่านหนังสือมักจะสับสนเมื่ออ่านอักษรที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ก,ถ,ภ หรือ บ กับ ป หรือ อ กับ ฮ
11. ลูกตาดำมีลักษณะผิดปกติ
สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น
การเกิดความบกพร่องทางการเห็น จนถึงตาบอด อาจมีสาเหตุใหญ่ๆประการ คือ
1. ความผิดปกติของดวงตา
เกิดจากความเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตาเป็นเหตุให้ สายตาสั้น สายตายาว หรือเกิดมีปัญหาจากการปรับภาพที่เลนส์ในดวงตา เป็นต้น ความผิดปกติอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การไม่ถนอมสายตาหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์
2. ความผิดปกติของสายตา
เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ จากอุบัติเหตุต่างๆที่เป็นอันตรายต่อดวงตา จากฤทธิ์ยาบางประเภทตลอดจนใช้ยาผิด โรคบางอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น เนื้องอกที่ตา โรคเหล่านี้อาจทำให้ตาบอดหรือมีความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรง
ลักษณะที่มีความผิดปกติของสายตา
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศรีษะ มองเห็นไม่ชัดเจนในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุในระยะไกลๆต้องขยี้ตาหรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆโดยกลัวจะสดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่สนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักขยี้ตาบ่อยๆ
7. ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สายตา
8. กระพริบตาบ่อยๆ
9. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
10. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้
ป้องกันและแก้ไข
1. ทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินเอสูง เช่น ไข่ นม ผักสดใบเขียว ผลไม้ น้ำมันตับปลา
2. หญิงมีครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก ต้องระวังรักษา สุขภาพอนามัยให้ดี ไม่ควรเลือกซื้อยามาใช้เอง ไม่ควรฉายแสงเอกซเรย์ที่มดลูก
3. รักษาความสะอาดของร่างกายและอนามัยของตา โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์
4. ระวังอุบัติเหตุที่ดวงตาของเด็กเล็กๆ
5. ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ ข้อพิการและโรคจากต่อมไร้ท่อ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
6. ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง
7. เด็กตาเข ตาเหล่ อาจแก้ไขรักษา โดยการใช้แว่นหรือผ่าตัดได้
8. เมื่อตาได้รับอุบัติเหตุต้องปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี และอย่าใช้ยาหยอดตา
สื่อสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเห็น |
 |
เครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์
คือ อุปกรณ์ผลิตสื่ออักษรเบรลล์ ซึ่งบุคคลที่
บกพร่องทางการเห็นมีความจำเป็น ต้องใช้ในการพิมพ์
เอกสาร หรืองานต่าง ๆ เพื่อจดบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษ
หรือแผ่นพลาสติก
|

|
กระดานหรือแผนรองเขียน( Slate ) และดินสอ(Stylus )
คือ อุปกรณ์พื้นฐานของการเขียนอักษรเบรลล์ด้วยมือ
เพื่อใช้ในการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ และสามารถพกพา
ได้สะดวก
- Slate ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกบกัน มีรูเพื่อการกดทำอักษรนูน
- Stylus มีลักษณะเป็นโลหะปลายแหลมมีด้ามจับกระชับอุ้งมือ เพื่อกดเข้าไปรูบน Slate
|
 |
ไม้เท้าขาว
คือ อุปกรณ์ที่ช่วยนำทางคนตาบอดให้ไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระและปลอดภัย ไม้เท้าขาวมีหลายลักษณะ
เช่น แบบพับได ้ แบบพับไม่ได้ ฯลฯ
|
 |
ลูกคิด
คือ อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อช่วยในการคำนวณสำหรับ
คนตาบอด เช่น บวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม รากที่สอง ฯลฯ
|
 |
แว่นขยาย
คือ อุปกรณ์ที่ช่วยขยายสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
โดยเลนส์ของอุปกรณ์ที่ช่วยในการขยาย มีหลายขนาดขึ้น
อยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
|