ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่บกพร่องหรือสูญเสียทางการ
ได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ ไม่ชัดเจน ตั้งแต่ระดับรุนแรงถึงระดับน้อย อาจแบ่งได้
เป็น 2 ประเภท คือ เด็กหูหนวก และเด็กหูตึง
- เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจ หรือใช้ภาษาพูดได้
หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500 - 2000 จะมีการพูดตอบสนอง
ของหูข้างที่ดีกว่าต่อเสียงบริสุทธิ์ตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
- เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินจนไม่สามารถเข้าใจคำพูดและการสนทนา ซึ่ง
จำแนกตามเกณฑ์การพิจารณา อัตราการของหูของสมาคมโสต ศอ นาสิก แพทย์แห่งประเทศไทย
โดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000 ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กหูตึงอาจแบ่งตามระดับ
การได้ยินได้ 4 กลุ่ม คือ
1. เด็กหูตึงระดับที่ 1 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26 - 40 dB
2. เด็กหูตึงระดับที่ 2 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41 - 55 dB
3. เด็กหูตึงระดับที่ 3 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56 - 70 dB
4. เด็กหูตึงระดับที่ 4 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71 - 90 dB
เด็กหูตึงระดับที่ 2 ( 41-55 dB ) ตึงปานกลาง จะมีปัญหาในการฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับ เด็กหูตึงระดับที่ 1 ( 26-40 dB ) ตึงเล็กน้อย จะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น
เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในห้องเรียนธรรมดาได้
หากมีที่นั่งเรียนที่สามารถมองเห็นครูและเพื่อนได้ดี หากมีเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมก็จะเป็น
ประโยชน์มาก
ปกติที่มีระยะห่าง 3 - 5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด ดังนั้นเมื่อพูดคุยด้วยเสียงธรรมดาก็จะไม่ได้ยิน
หรือได้ยินไม่ชัดจับใจความไม่ได้ นอกจากนี้มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่นพูดไม่ชัด ออกเสียง
เพี้ยนพูดเสียงเบาหรือเสียงผิดปกติ
เด็กหูตึงระดับที่ 3 ( 56-70 dB ) ตึงมาก มีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูดเมื่อพูดคุยกัน
ด้วยเสียงดังเต็มที่ ก็ยังไม่ได้ยินมีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน เช่น เสียงในห้อง
ประชุม มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าเด็กปกติ พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยนบางคนไม่พูด
เด็กหูตึงระดับที่ 4 ( 71 - 90 dB ) ตึงรุนแรง เป็นกลุ่มเด็กหูตึงระดับรุนแรง จึงมีปัญหาใน
การรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก เด็กจะสามารถได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูใน
ระยะทาง 1 ฟุต ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง จึงจะได้ยินเด็กกลุ่มนี้แม้จะใช้เครื่องช่วยฟังก็
มีปัญหาในการแยกเสียง อาจแยกเสียงสระได้ แต่แยกเสียงพยัญชนะได้ยากมักพูดไม่ชัด และมี
ความผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูตึงที่พบในโรงเรียนปกติ โดยที่ทางโรงเรียนรับเข้าไปโดยไม่ทราบปัญหานั้น
มักเป็นเด็กหูตึงในระดับที่ 1 หรืออย่างมากก็ระดับที่ 2 สำหรับเด็กหูตึงในระดับที่ 3 และระดับที่ 4
นั้น มีไม่มากนักในระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ยกเว้นในกรณีที่หูตึงภายหลัง คือ สูญเสีย
การได้ยินขณะอยู่ในโรงเรียน สำหรับในระดับปฐมวัยนั้น โอกาสที่จะพบนั้นเป็นไปได้ทั้ง 4 กลุ่ม
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
1. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด หรือเสียงดนตรี
2. มักพูดด้วยเสียงต่ำ ระดับเดียวกันตลอด
3. มักพูดเสียงเบา หรือดังเกินความจำเป็น
4. พูดไม่ชัด
5. เวลาฟังมักจะมองปาก หรือจ้องหน้าผู้พูดตลอดเวลา
6. มีประวัติเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง
7. ให้ความสนใจต่อการสั่นสะเทือน
8. พูดตาม หรือเลียนแบบเสียงพูดไม่ได้
9. ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก หากมองไม่เห็นผู้พูด