เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยทั่วไปแล้วจะใช้ที่คะแนนจากแบบทดสอบ
คำจำกัดความ
ทางเชาว์ปัญญา (IQ TEST) เป็นตัวบ่งชี้ บุคคลโดยทั่ว ๆ ไปจะมีระดับเชาว์ปัญญา (IQ) อยู่
ระหว่าง 90-109 หรือ 90-110 หากมีระดับเชาว์ปัญญา (IQ) สูงกว่า 110 ขึ้นไป จัดว่าเป็น
จัดว่าเป็นบุคคลที่ค่อนข้างฉลาด (bright) ไปจนถึงฉลาดมาก (very Superior) และถ้ามีระดับ
เชาว์ปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 90 ลงมา ถือว่าเป็นบุคคลบกพร่องทางสติปัญญา แต่อย่างไรก็ตาม
การใช้ระดับเชาว์ปัญญาก็อาจจะไม่เพียงพอ ต้องพิจารณาระดับความสามารถด้านอื่นๆ
ประกอบด้วย
ดังนั้น ในทางด้านการศึกษาจึงให้ความหมายของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ว่าหมายถึง คนที่พัฒนาการช้ากว่าคนทั่วไป เมื่อวัดระดับเชาว์ปัญญาโดยใช้แบบทดสอบ
มาตรฐาน แล้วมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป และความสามารถในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไปอย่างน้อย 2 ทักษะหรือมากกว่า ทักษะดังกล่าประกอบด้วย
- ทักษะการสื่อความหมาย - ทักษะทางสังคม
- ทักษะการใช้สาธารณสมบัติ - ทักษะในการเรียนวิชาการเพื่อชีวิตประจำวัน
- การดำรงชีวิตในบ้าน - การดูแลตนเอง
- การควบคุมตนเอง - สุขอนามัย และความปลอดภัย
- การใช้เวลาว่าง - การทำงาน
ลักษณะอาการและความรุนแรง
ซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญานี้ สามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุก่อน 18 ปี
และอาจแบ่งความบกพร่องของสติปัญญาได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้ คือ
1. บกพร่องระดับน้อย (Mild) ระดับเชาว์ปัญญา 50 - 70 บุคคลที่มีความบกพร่องทาง
สติปัญญา จะอยู่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 85) เด็กในกลุ่มนี้บางคนก็พอเรียนได้
เรียกว่า “ กลุ่มเรียนได้ : EMR ” ( Educable Mentally Retarded ) คือกลุ่มที่มีความสามารถเรียน
ได้จนถึงชั้นประถมปีที่ 6 เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะมีความสามรถปรับตัวได้เทียบเท่ากับเด็กวัยรุ่น
เด็กกลุ่มนี้ยังต้องการคำชี้แนะและการช่วยเหลือเพราะมักไม่รู้จักแยกแยะเหตุผลและมอง ไม่เห็น
ผลของการกระทำของตัวเอง หากเด็กกลุ่มนี้ได้รับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถ
เรียนรู้และสามารถประกอบอาชีพได้ในระดับหนึ่ง
2. บกพร่องระดับปานกลาง (Moderate) ระดับเชาว์ปัญญา 35 - 55 เชื่อว่าบุคคลที่มีความ
บกพร่องทางสติปัญญาจะอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 10 บางครั้งก็เรียกว่า “ กลุ่มฝึกได้ : TMR”
(Trainable Metally Retarded) มีความสามรถพอฝึกอบรมได้และเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ได้
คือ เรียนได้ระดับประถมศึกษาปีที่ 2 เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่มักจะแสดงอาการเงอะๆ งะๆ การ
ประสานสัมพันธ์ของอวัยวะการเคลื่อนไหว และประสาทสัมผัสไม่ค่อยดีนัก ควรได้รับการ
ศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ
3 . บกพร่องระดับรุนแรง (Severe) ระดับเชาว์ปัญญาประมาณ 20 - 40 เชื่อว่าบุคคลที่มี
ี ความบกพร่องทางสติปัญญา จะอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 4 บางครั้งเรียกว่า “ กลุ่มต้องพึ่งพิง ”
ไม่สามารถเรียนได้ ส่วนใหญ่จะพบความพิการบกพร่องทางการเคลื่อนไหว การพูดและภาษา
ร่วมอยู่ด้วย อาจจะฝึกหัดการช่วยเหลือตนเองในกิจกรรมประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ ได้เท่านั้น
ต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นมาก
4 . บกพร่องระดับรุนแรงมาก (Profound) ระดับเชาว์ปัญญาประมาณ 20 - 25 หรือต่ำกว่า
20 เชื่อว่าบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 1 เป็นกลุ่มที่ไม่
สามารถฝึกทักษะต่างๆ ได้ ส่วนใหญ่มักจะมีรูปร่างผิดปกติ ต้องพึ่งการดูแลช่วยเหลือทาง
การแพทย์เท่านั้น
สาเหตุของความบกพร่องทางสติปัญญา
ส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ (ร้อยละ 30 - 50) มักเกิดจากหลายสาเหตุ
เป็นปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางจิตสังคม ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นสาเหตุ
ได้ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด มักพบมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย สาเหตุได้แก่
- โรคทางพันธุกรรม
- การติดเชื้อ
- การได้รับสารพิษ
- การขาดออกซิเจน
- การขาดสารอาหาร
- การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
1. มีพัฒนาการโดยทั่วไปช้า
2. มีความสามารถทางการเคลื่อนไหวน้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
3. อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
4. กล้ามเนื้อทำงานประสานกันไม่ดีนัก
5. เรียนรู้ช้า
6. มีพัฒนาการทางภาษาช้า ภาษาไม่สมวัย
7. มีช่วงสมองสั้น
8. ลืมง่าย สับสนง่าย
9. ชอบลอกเลียนแบบไม่ใช้ความคิดตนเอง
10. ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ต่ำกว่าวัย