ความบกพร่องทางการพูด และภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจาก
การพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง
จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด ความบกพร่องทางการพูดพิจารณาได ้ 3 ด้าน ดังนี้
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
1.1 เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป เช่น "ความ" เป็น "คาม" เป็นต้น
1.2 ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง เช่น "กิน" "จิน" เป็นต้น
1.3 เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่สียงที่ถูกต้องลงไปด้วย เช่น "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
1.4 เสียงเพี้ยนหรือเปล่งไป เช่น "แล้ว" เป็น "แล่ว"
ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าความบกพร่องเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นประจำหรือไม่
ขนบธรรมเนียมหรือประเพณีของผู้พูดเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง และเป็น
วัฒนธรรมของผู้พูดก็ไม่ถือว่าผิดปกติ เช่น คนภาคใต้เรียกแมงกะพรุนว่า แมงพุนก็ไม่ถือว่า
ผิดปกติแต่อย่างใด
2. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders) แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
2.1 ความบกพร่องของระดับเสียง เช่น เสียงสูงหรือต่ำตลอดเวลา หรือเสียงที่พูด
อยู่ในระดับเดียวตลอด เสียงพูดผิดเพศ ผิดวัย
2.2 เสียงดังหรือค่อยเกินไป คล้ายๆ กับตะโกน หรือกระซิบอยู่ตลอดเวลา
2.3 คุณภาพของเสียงไม่ดี เช่น เสียงแตกพร่า เสียงกระด้าง เสียงแหบแห้ง
ตลอดเวลา เป็นต้น
3. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders)
แบ่งเป็น 5 ลักษณะ คือ
3.1 พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
3.2 การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
3.3 อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
3.4 จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
3.5 เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
ความบกพร่องประเภทนี้พบมากคือการติดอ่างและพูดเร็วรัว คนติดอ่างจะมีความ
ผิดปกติเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดซ้ำคำคำเดียวหลายๆ ครั้ง หรืออึดอักๆ เสียงยืดยานคาง พูด
ขาดเป็นห้วงๆ มีกิริยาท่าทางที่แสดงถึงความยากลำบากในการออกเสียงส่วนการพูดเร็วเกิน
ไปนั้น เสียงพูดจะผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็นรูปประโยคผิดไปสลับเสียงตัวหนึ่ง เป็นต้น
ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของ
คำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิด ออกมาเป็นถ้อยคำได้ ซึ่งพิจารณาได้ 3 ด้าน ดังนี้
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) มี 5 ลักษณะ คือ
1.1 มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
1.2 มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
1.3 ไม่สามารถสร้างประโยคได้
1.4 มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
1.5 ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ
2. การไม่มีความสามารถเข้าใจและสร้างถ้อยคำ (Aphasia) เนื่องจากสมองหรือปราสาท
ได้รับการกระทบกระเทือนหรือบาดเจ็บ มี 7 ลักษณะ คือ
2.1 อ่านไม่ออก
2.2 เขียนไม่ได้
2.3 สะกดคำไม่ได้
2.4 ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
2.5 จำคำหรือประโยคไม่ได้
2.6 ไม่เข้าใจคำสั่ง
2.7 อารมณ์ไม่คงที่
3. ความขัดแย้งเกี่ยวกับภาษา (Specific Language Disabilities) เนื่องจากสมองได้รับ
บาดเจ็บ จากการกระทบกระเทือน มี 2 ลักษณะ คือ
3.1 ความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital Aphasia) เนื่องจากสมองได้รับบาดเจ็บ
จากการกระทบกระเทือน มี 2 ลักษณะ คือ
3.1.1 ความขัดแย้งกันของสิ่งที่ได้ยินจริงๆ กับสิ่งที่คาดว่าจะได้ยิน
3.1.2 ความขัดแย้งกันในการจำเสียงที่ได้ยิน
3.1.3 ความขัดแย้งกันในการประสมประสานเสียงที่ได้ยิน
3.1.4 ความขัดแย้งกันในความเข้าใจภาษาพูด
3.1.5 ความขัดแย้งในการแสดงออกทางภาษา
ลักษณะดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดกับเด็กซึ่งหูหนวกมาแต่แรกเกิด จึงทำให้เด็กขาด
พัฒนาการทางภาษาไป
3.2 ความผิดปกติหลังการพัฒนาภาษา (Developmental Aphasia) เกิดขึ้นหลังจากท
เด็กมีพัฒนาการทางภาษาแล้ว
จึงอาจกล่าวได้ว่า ความผิดปกติทางการพูดมีความแตกต่างจากความผิดปกติทางภาษา
คือ ความผิดปกติทางการพูด เป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับเสียงพูดในด้านการปรุงแต่งระดับ
และคุณภาพของเสียงจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด ส่วนความผิดปกติทางภาษาเป็น
ความผิดปกติด้านการพัฒนาทางภาษาความสามารถเกี่ยวกับความเข้าใจ การสร้างถ้อยคำ
และความผิดปกติที่เกิดก่อน และหลังการมีพัฒนาการทางภาษา