เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
(Behavioral and Emotional Disorders Child)
คำจำกัดความ
เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมหรืออารมณ์
ที่เบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไปในวัยเดียวกันเป็นอย่างมาก แม้จะได้รับบริการทางการแนะแนว
และการให้คำปรึกษาแล้ว ก็ยังมีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์อยู่ในขั้นรุนแรง
และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็กและผู้อื่น
ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างที่ควรจะเป็น ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมีความเก็บ
กดทางอารมณ์ และแสดงออกทางพฤติกรรมในลักษณะที่รุนแรงไม่เหมาะสมไม่เป็นที่ยอมรับ
ของสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวของเด็กเอง และ
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับเด็กกับสภาพแวดล้อมรอบกาย
สาเหตุของความบกพร่อง
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
นักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายท่านมีทัศนะ และแนวคิดที่สอดคล้องต้องกันว่า
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาและเบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไปที่เด็กกลุ่มนี้แสดงออกมานั้น เป็นผลมา
จากความสับสนทางอารมณ์ในด้านลบและความคับข้องใจ ที่ทำให้เด็กมีอารมณ์ปรวนแปร
และรุนแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากประเด็นใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1. สภาพทางชีววิทยา อันหมายถึง พันธุกรรม ระบบประสาท ภาวะโภชนาการ
และโรคภัย ไข้เจ็บบางชนิด
2. . สภาพทางครอบครัว ที่มีความขัดแย้งรุนแรง มีสัมพันธภาพในเชิงลบ การขาด
การเอาใจใส่ ขาดความอบอุ่น
3. สภาพพลวัตของโลกาภิวัตน์ ความสับสนในการดำเนินชีวิตในสังคม ความสับสน
ในวัฒนธรรม ความเติบโตทางวัตถุนิยมอย่างรวดเร็วและรุนแรง ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ
สังคมได้
ทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว ล้วนมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต ต่อความรู้สึกนึกคิด และ
ต่ออารมณ์ของเด็ก ความสามารถในการรับสัมผัสทั้งด้านบวกและด้านลบของเด็ก จะเป็น
ผลให้เกิด ความผกผันของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา ดังนั้นทั้งผู้ปกครองและครูจำเป็น
ต้องเรียนรู้ จิตวิทยาในการดูแลเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ ให้เขาได้รับประสบการณ์ชีวิตใน
ด้านบวก ได้รับความ รักความเข้าใจ ได้เรียนรู้สิ่งดีงามในชีวิต เพื่อเป็นการเยียวยารักษา
ปัญหาที่เขามีอยู่ให้ผ่อนคลาย ละลายลง เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในการดำรงชีวิต
อยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไม่ก่อปัญหาความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น
เพราะในปัจจุบันยังไม่มีโรงเรียน สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์โดยเฉพาะ
1. เก็บตัว หมกมุ่น เหม่อลอย
2. วิตกกังวล ลุกลี้ลุกลน
3. ไม่มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ถอยหนีสังคม
4. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ก้าวร้าว ก่อกวน ข่มขู่ ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง
5. ขาดความรับผิดชอบ ไม่เคารพยำเกรงผู้อื่น
6. มีนิสัยลักขโมย ฝ่าฝืนกติกา ต่อต้านสังคม
7. หนีเรียนเป็นประจำ
8. อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อที่จะไม่ทำกิจกรรมใด ๆ